วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผ้าไหม


ผ้าไหมของไทยมีชื่อเสียงขึ้นชื่อลือชาไปทั่วโลก ความเงาแววระยับของผ้าไหมเอาไปตัดสูท ตัดเสื้อทรงไหนก็สวย ยามที่ผ้าไหมสีเหลือบ อย่างสีเขียวปีกแมลงทับต้องแสงอาทิตย์ มันจะเปลี่ยนสีได้เหมือนกับเล่นกล ซึ่งไม่มีผ้าชนิดไหนทำได้อย่างนี้อีกแล้วเมืองไทยโชคดีที่ภูมิปัญญาในการทำผ้าไหมตกทอดมาจากปู่ย่าถึงลูกถึงหลานไม่สูญหายแถวยังพัฒนาผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ผ้าไหมสวยขึ้นมีความคงทนมากขึ้นใครที่ไม่เคยเห็นขบวนการทอเส้นไหม ไปเห็นแล้วจะทึ่ง จากรังไหมสีเหลืองเล็ก ๆ นำไปต้ม แล้วใช้ไม้สาวขึ้นมากลายเป็นเส้นไหมยาวต่อเนื่องกันได้ คิดดูด้วยปัญญาเรา ๆ รังไหมคนละรังเป็นเส้นยาวติดกันได้ไงย้อนไปดูจุดเริ่มต้นไม่มีตรงไหนง่าย ๆ แต่มีประโยชน์ ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ปลูกต้นหม่อน ให้ใบหม่อนเป็นอาหารของตัวหนอนไหม เดี๋ยวนี้ได้ผลพลอยได้เก็บใบหม่อนมาตากแห้งทำเป็นชาเขียวใบหม่อนลดความดัน กันมะเร็งไปโน่น ลูกของต้นหม่อนก็กินได้นะครับ เป็นพวกเบอรี่ ฝรั่งเรียก Mulberry ลูกสีม่วง ๆ กินสดหวานอร่อย เอามาทำแยมก็ดี เมืองไทยยังไม่ค่อยนิยมตัวดักแด้ไหมเขายังนำมาทอดโรยเกลือกินอร่อย แบบกินแมลง ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีใครรังเกียจแล้ว เป็นอาหารโปรตีนราคาถูกชั้นยอด ส่วนรังไหมเป็นของมีค่าที่สุด เส้นไหมจากรังไหมเขายังต้องนำไปย้อมให้ได้สีที่ต้องการ ถึงจะนำมาทอ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีโรงงานทอดผ้าทันสมัยแล้ว แต่การทอผ้าไหมความขลังยังอยู่ที่การทอแบบวิธีดั้งเดิม พุ่งกระสวยทีละเส้น ตบเส้นไหมให้แน่น สร้างลวดลายจากความชำนาญและประสบการณ์ของคนทอ เพราะอย่างนี้ผ้าไหมถึงแพงสมกับคุณค่าของตัวมันเองมาถึงตรงนี้ถ้าเกิดความอยากไปดูเขาทอผ้าไหม หรือจะไปซื้อผ้าไหมถึงแหล่งบ้าง ต้องเชียร์ให้ไปชัยภูมิ เพราะเป็นแหล่งผ้าไหมขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งของไทย แถมอาทิตย์นี้ยังมีวันหยุดหลายวัน ขับรถไปดูดอกกระเจียวบานที่ป่าหินงาม แล้วเลยไปดูผ้าไหมด้วยก็คุ้มอย่าบอกใครกลุ่มที่ผมจะพาไปดู เป็นกลุ่มทอผ้าไหมคุ้มบ้านใหม่ อยู่ที่ หมู่ 1 อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ และแน่นอนครับกลุ่มนี้เป็นสมาชิกของโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทของธนาคารออมสิน (สพช.) เป็นกลุ่มดีเด่นมีผลงาน มีความสามัคคี ทอผ้าไหม ทำงาน ออมเงินกันอย่างขยันขันแข็งตัวประธานกลุ่มเป็นสาวหน้าแฉล้มเหมือนในรูปอัธยาศัยไมตรียิ้มแย้มดีมาก ใครเจอก็ติดใจ ชื่อคุณสมพาน  สิงห์หมื่นชัยภูมิ เธอมีร้านขายผ้าไหมอยู่ในตัวอำเภอเขว้าด้วย จึงเป็นช่องทางการจำหน่ายผ้าไหมของกลุ่มทางหนึ่งหนทางไปเยี่ยมรานขงคุณสมพานไม่ยาก จากตัวเมืองชัยภูมิออกมา 13 กิโล จะเห็นโรงพยาบาลอำเภอบ้านเขว้าอยู่ซ้ายมือ เข้าไปอีก 1 กิโลจะถึงตัวอำเภอบ้านเขว้า แถบนั้นจะมีร้ายขายผ้าไหมอยู่หลายร้าน แต่ร้านของคุณสมพานชื่อ สมพานไหมไทย สถานที่โอ่โถงพอสมควร รวมโรงทอผ้าอยู่ด้วย ไปดูกันได้ ใครไปไม่ถูก เอาเบอร์คุณสมพานไปได้ 044-839296 ครับ ที่ร้านยังเป็นที่ทำการของกลุ่มด้วย บรรดาสมาชิกจะอยู่รายล้อมกันแถวนั้นกลุ่มของเธอก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2537 แรกเริ่มมีกันอยู่ 25 คน ปัจจุบันร่วมร้อย ก่อนหน้านั้นแต่ละบ้านก็ทอผ้าไหมกันอยู่แล้ว แต่กระจัดกระจาย เมื่อรวมกลุ่มกันเข้า ทุกคนจึงแข็งแรงขึ้น ยิ่งมาได้เข้าเป็นสมาชิก สพช. ที่ธนาคารออมสินสาขาชัยภูมิด้วยแล้ว การจัดการต่าง ๆ ก็เป็นรูปแบบชัดเจน เช่น สมาชิกทุกคนมีการออมเงินสัจจะอย่างสม่ำเสมอ ใครจะกู้ก็มาขอกู้ระยะสั้นได้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน ซึ่งถูกกว่าเงินกู้นอกระบบมาก  การกู้ต้องมีการทำสัญญา มีคนค้ำประกันซึ่งเป็นสมาชิกด้วยกันนั่นเอง ทุกคนต่างพึ่งพากัน อาศัยกัน จึงไม่มีใครผิดนัดชำระเงินกู้ให้เห็นเลยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การจัดทำบัญชีก็ง่าย ๆ แต่โปร่งใส แบ่งสันปันส่วนกำไรจากการทอผ้าอย่างยุติธรรม สมาชิกทุกคนเลยแฮปปี้เป็นอย่างดีผ้าไหมที่สมาชิกทอได้จะมาฝากคุณสมพานนำไปจำหน่ายที่ร้านในตัวอำเภอ บางทีทาง สพช. จะแนะนำให้ไปจำหน่ายตามงาน เช่น งานที่ออมสินสำนักงานใหญ่ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ผ้าไหมของกลุ่มนี้จึงขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเพราะมีการตลาดที่ดี ผลกำไรเมื่อได้มาจะนำเข้าบัญชีกลุ่มก่อน ค่อยจัดสรรให้กับสมาชิกต่อไป สิ้นปีมีเงินปันผลด้วยถึงตอนนี้กลุ่มมีเงินออมสัจจะอยู่เกือบหนึ่งแสนบาท กู้เงิน สพช. เมื่อแรกเข้า 5 ปีก่อน มา 5 แสนบาท นำมาลงทุนซื้อเส้นไหม อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สมาชิก ก็ใกล้จะใช้หนี้หมดแล้วคุณสมพานบอกเราว่าที่กลุ่มประสบความสำเร็จอย่างนี้ ก็เพราะทุกคนร่วมกันสร้างจิตสำนึกให้เกิดความรักสามัคคี เสียสละ อดทน คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เมื่อถึงเวลาทำงานก็ทำงาน มีประชุมมาร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกันทุกเดือน กลุ่มยังมีโอกาสไปดูงานตามที่ต่าง ๆ เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น และนำส่งที่เป็นประโยชน์กลับมาใช้ในกลุ่มต่อไป

SWOT
จุดแข็ง (Strength)
1.การทอมือที่ละเอียดประณีต ย้อมสีธรรมชาติ เป็นเสน่ห์สำหรับชาวตะวันตก ทำให้สินค้าขายได้ในราคาสูง
2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านไม่สลับซับซ้อน ทำให้ไม่ต้องใช้ต้นทุนการบำรุงรักษาเครื่องจักรสูงนัก
3. มีแรงงานฝีมือจำนวนเพียงพอ ค่าจ้างไม่แพงมากเมื่อเทียบกับทักษะฝีมือ
จุดอ่อน (Weakness)
1. เส้นไหมที่มีอยู่ในพื้นที่ไม่เพียงพอกับปริมาณที่ต้องการใช้ ต้องนำเส้นไหมมาจากแหล่งผลิตอื่นๆ ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด รวมทั้งจากต่างประเทศ
2. ขาดบุคลลากรที่มีความรู้ในด้านการบำรุงรักษาซ่อมแซมเครื่องจักรที่ใช้ เช่น เครื่องสาวไหม เครื่องทอผ้าไฟฟ้า ทำให้อายุการใช้งานเครื่องจักรสั้นกว่าที่ควรจะเป็น และเมื่อเครื่องจักรชำรุดเสียหายก็ทำให้การทำงานหยุดชะงัก เนื่องจากต้องรอผู้มีความรู้ด้านเครื่องจักรมาซ่อมแซมซึ่งมักใช้เวลานาน
3. ผู้ประกอบการจำนวนมากยังขาดความรู้ความสามารถในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมเพื่อการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า มักจะผลิตสินค้าตามความนึกคิดของตัวเองโดยไม่ได้ศึกษาความต้องการของผู้บริโภค ทำให้มีสินค้าค้างสต๊อกจำนวนมากบ่อยๆส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน
 โอกาส (Opportunity)
1. ผ้าไหมไทยมีเอกลักษณ์และเป็นที่ชื่นชมในระดับนานาชาติ ทำให้ผลผลิตจากอุตสาหกรรมไหมยังมีโอกาสอีกมากในตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ
อุปสรรค (Threat)
1. ปริมาณเส้นไหมที่มีอยู่ในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการ ต้องมีการนำเข้าทำให้มีต้นทุนในส่วนวัตถุดิบสูงขึ้น
2. เส้นไหมของประเทศเพื่อนบ้านมีราคาถูกกว่า ทำให้มีการลักลอบนำเข้าเส้นไหมอย่างผิดกฎหมาย มีผลกระทบต่อราคาไหมที่ผลิตได้ในประเทศ
3. มีการแข่งขันจากผ้าทอพื้นเมืองที่ทำจากวัสดุอื่นที่มีราคาถูกกว่า และดูแลรักษาง่ายกว่า เช่น ผ้าฝ้ายทอพื้นเมือง เป็นต้น
4. ผู้บริโภคทั้งชาวไทย และต่างประเภทส่วนใหญ่พบปัญหาการดูแลรักษาผ้าไหม

2 ความคิดเห็น: