วันจันทร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ข้อเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศทั้ง 2 ธุรกิจ

ฟูจิ
ข้ออเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ
1.    ควรศึกษาถึงวัฒนธรรมของประเทศที่จะไปทำธุรกิจด้วยว่าในประเทศที่จะไปทำนั้นมีความเป็นอยู่เป็นอย่างไร และประเทศนั้นชอบอะไรหรือไม่ชอบอะไร ทางร้านฟูจิจึงต้องศึกษาเรื่องนี้ให้ดีก่อนจะเข้าไปทำธุรกิจกับต่างประเทศ

2.     ศึกษาถึงกลุ่มเป้าหมาย หรือกลุ่มผู้บริโภคว่าเขามีพฤติกรรมการบริโภคเป็นอย่างไร และกลุ่มเป้าหมายชอบอะไรและไม่ชอบอะไร

3.      ทางร้านควรมีการจัดการทำแผนการดำเนินงานให้มีความเป็นระเบียบให้ดียิ่งขึ้น และมีการพัฒนาสินค้าและบริการอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้เป็นจุดเด่นของลูกค้าจะได้เข้ามารับบริการเรื่อยๆ

MK
ข้ออเสนอแนะวิธีการทำการตลาดระหว่างประเทศ
1.     ควรศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคของประเทศที่จะไปทำธุรกิจ ว่าถ้า MK จะเข้าไปเปิดธุรกิจด้วยนั้น กลุ่มผู้บริโภคจะชอบการรับประทานแบบเป็นกลุ่ม และมากน้อยแค่ไหน

2.       MK ควรที่จะเปิดตลาดในแทบเพื่อนบ้านเราไปก่อน เพราะการรับประทานของคนในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้านจะมีการรับประทานที่คล้ายคลึงกันมาก

3.     MK ควรมีการปรับปรุงและพัฒนาพนักงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้มีการทำงานที่มีประสิทธิภาพ และตอบสนองได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า

วันเสาร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ผ้าไหม


ผ้าไหมของไทยมีชื่อเสียงขึ้นชื่อลือชาไปทั่วโลก ความเงาแววระยับของผ้าไหมเอาไปตัดสูท ตัดเสื้อทรงไหนก็สวย ยามที่ผ้าไหมสีเหลือบ อย่างสีเขียวปีกแมลงทับต้องแสงอาทิตย์ มันจะเปลี่ยนสีได้เหมือนกับเล่นกล ซึ่งไม่มีผ้าชนิดไหนทำได้อย่างนี้อีกแล้วเมืองไทยโชคดีที่ภูมิปัญญาในการทำผ้าไหมตกทอดมาจากปู่ย่าถึงลูกถึงหลานไม่สูญหายแถวยังพัฒนาผสานกับเทคโนโลยีสมัยใหม่ทำให้ผ้าไหมสวยขึ้นมีความคงทนมากขึ้นใครที่ไม่เคยเห็นขบวนการทอเส้นไหม ไปเห็นแล้วจะทึ่ง จากรังไหมสีเหลืองเล็ก ๆ นำไปต้ม แล้วใช้ไม้สาวขึ้นมากลายเป็นเส้นไหมยาวต่อเนื่องกันได้ คิดดูด้วยปัญญาเรา ๆ รังไหมคนละรังเป็นเส้นยาวติดกันได้ไงย้อนไปดูจุดเริ่มต้นไม่มีตรงไหนง่าย ๆ แต่มีประโยชน์ ทุกขั้นตอน ตั้งแต่ปลูกต้นหม่อน ให้ใบหม่อนเป็นอาหารของตัวหนอนไหม เดี๋ยวนี้ได้ผลพลอยได้เก็บใบหม่อนมาตากแห้งทำเป็นชาเขียวใบหม่อนลดความดัน กันมะเร็งไปโน่น ลูกของต้นหม่อนก็กินได้นะครับ เป็นพวกเบอรี่ ฝรั่งเรียก Mulberry ลูกสีม่วง ๆ กินสดหวานอร่อย เอามาทำแยมก็ดี เมืองไทยยังไม่ค่อยนิยมตัวดักแด้ไหมเขายังนำมาทอดโรยเกลือกินอร่อย แบบกินแมลง ซึ่งเดี๋ยวนี้ไม่มีใครรังเกียจแล้ว เป็นอาหารโปรตีนราคาถูกชั้นยอด ส่วนรังไหมเป็นของมีค่าที่สุด เส้นไหมจากรังไหมเขายังต้องนำไปย้อมให้ได้สีที่ต้องการ ถึงจะนำมาทอ ถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมีโรงงานทอดผ้าทันสมัยแล้ว แต่การทอผ้าไหมความขลังยังอยู่ที่การทอแบบวิธีดั้งเดิม พุ่งกระสวยทีละเส้น ตบเส้นไหมให้แน่น สร้างลวดลายจากความชำนาญและประสบการณ์ของคนทอ เพราะอย่างนี้ผ้าไหมถึงแพงสมกับคุณค่าของตัวมันเองมาถึงตรงนี้ถ้าเกิดความอยากไปดูเขาทอผ้าไหม หรือจะไปซื้อผ้าไหมถึงแหล่งบ้าง ต้องเชียร์ให้ไปชัยภูมิ เพราะเป็นแหล่งผ้าไหมขึ้นชื่ออีกแห่งหนึ่งของไทย แถมอาทิตย์นี้ยังมีวันหยุดหลายวัน ขับรถไปดูดอกกระเจียวบานที่ป่าหินงาม แล้วเลยไปดูผ้าไหมด้วยก็คุ้มอย่าบอกใครกลุ่มที่ผมจะพาไปดู เป็นกลุ่มทอผ้าไหมคุ้มบ้านใหม่ อยู่ที่ หมู่ 1 อ.บ้านเขว้า จ.ชัยภูมิ และแน่นอนครับกลุ่มนี้เป็นสมาชิกของโครงการสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทของธนาคารออมสิน (สพช.) เป็นกลุ่มดีเด่นมีผลงาน มีความสามัคคี ทอผ้าไหม ทำงาน ออมเงินกันอย่างขยันขันแข็งตัวประธานกลุ่มเป็นสาวหน้าแฉล้มเหมือนในรูปอัธยาศัยไมตรียิ้มแย้มดีมาก ใครเจอก็ติดใจ ชื่อคุณสมพาน  สิงห์หมื่นชัยภูมิ เธอมีร้านขายผ้าไหมอยู่ในตัวอำเภอเขว้าด้วย จึงเป็นช่องทางการจำหน่ายผ้าไหมของกลุ่มทางหนึ่งหนทางไปเยี่ยมรานขงคุณสมพานไม่ยาก จากตัวเมืองชัยภูมิออกมา 13 กิโล จะเห็นโรงพยาบาลอำเภอบ้านเขว้าอยู่ซ้ายมือ เข้าไปอีก 1 กิโลจะถึงตัวอำเภอบ้านเขว้า แถบนั้นจะมีร้ายขายผ้าไหมอยู่หลายร้าน แต่ร้านของคุณสมพานชื่อ สมพานไหมไทย สถานที่โอ่โถงพอสมควร รวมโรงทอผ้าอยู่ด้วย ไปดูกันได้ ใครไปไม่ถูก เอาเบอร์คุณสมพานไปได้ 044-839296 ครับ ที่ร้านยังเป็นที่ทำการของกลุ่มด้วย บรรดาสมาชิกจะอยู่รายล้อมกันแถวนั้นกลุ่มของเธอก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2537 แรกเริ่มมีกันอยู่ 25 คน ปัจจุบันร่วมร้อย ก่อนหน้านั้นแต่ละบ้านก็ทอผ้าไหมกันอยู่แล้ว แต่กระจัดกระจาย เมื่อรวมกลุ่มกันเข้า ทุกคนจึงแข็งแรงขึ้น ยิ่งมาได้เข้าเป็นสมาชิก สพช. ที่ธนาคารออมสินสาขาชัยภูมิด้วยแล้ว การจัดการต่าง ๆ ก็เป็นรูปแบบชัดเจน เช่น สมาชิกทุกคนมีการออมเงินสัจจะอย่างสม่ำเสมอ ใครจะกู้ก็มาขอกู้ระยะสั้นได้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 1 ต่อเดือน ซึ่งถูกกว่าเงินกู้นอกระบบมาก  การกู้ต้องมีการทำสัญญา มีคนค้ำประกันซึ่งเป็นสมาชิกด้วยกันนั่นเอง ทุกคนต่างพึ่งพากัน อาศัยกัน จึงไม่มีใครผิดนัดชำระเงินกู้ให้เห็นเลยตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา การจัดทำบัญชีก็ง่าย ๆ แต่โปร่งใส แบ่งสันปันส่วนกำไรจากการทอผ้าอย่างยุติธรรม สมาชิกทุกคนเลยแฮปปี้เป็นอย่างดีผ้าไหมที่สมาชิกทอได้จะมาฝากคุณสมพานนำไปจำหน่ายที่ร้านในตัวอำเภอ บางทีทาง สพช. จะแนะนำให้ไปจำหน่ายตามงาน เช่น งานที่ออมสินสำนักงานใหญ่ หรือหน่วยงานต่าง ๆ ผ้าไหมของกลุ่มนี้จึงขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเพราะมีการตลาดที่ดี ผลกำไรเมื่อได้มาจะนำเข้าบัญชีกลุ่มก่อน ค่อยจัดสรรให้กับสมาชิกต่อไป สิ้นปีมีเงินปันผลด้วยถึงตอนนี้กลุ่มมีเงินออมสัจจะอยู่เกือบหนึ่งแสนบาท กู้เงิน สพช. เมื่อแรกเข้า 5 ปีก่อน มา 5 แสนบาท นำมาลงทุนซื้อเส้นไหม อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สมาชิก ก็ใกล้จะใช้หนี้หมดแล้วคุณสมพานบอกเราว่าที่กลุ่มประสบความสำเร็จอย่างนี้ ก็เพราะทุกคนร่วมกันสร้างจิตสำนึกให้เกิดความรักสามัคคี เสียสละ อดทน คำนึงถึงผลประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เมื่อถึงเวลาทำงานก็ทำงาน มีประชุมมาร่วมประชุมโดยพร้อมเพรียงกันทุกเดือน กลุ่มยังมีโอกาสไปดูงานตามที่ต่าง ๆ เปิดโลกทัศน์ให้กว้างขึ้น และนำส่งที่เป็นประโยชน์กลับมาใช้ในกลุ่มต่อไป

SWOT
จุดแข็ง (Strength)
1.การทอมือที่ละเอียดประณีต ย้อมสีธรรมชาติ เป็นเสน่ห์สำหรับชาวตะวันตก ทำให้สินค้าขายได้ในราคาสูง
2. เทคโนโลยีที่ใช้ในการผลิตเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านไม่สลับซับซ้อน ทำให้ไม่ต้องใช้ต้นทุนการบำรุงรักษาเครื่องจักรสูงนัก
3. มีแรงงานฝีมือจำนวนเพียงพอ ค่าจ้างไม่แพงมากเมื่อเทียบกับทักษะฝีมือ
จุดอ่อน (Weakness)
1. เส้นไหมที่มีอยู่ในพื้นที่ไม่เพียงพอกับปริมาณที่ต้องการใช้ ต้องนำเส้นไหมมาจากแหล่งผลิตอื่นๆ ทั้งในจังหวัดและต่างจังหวัด รวมทั้งจากต่างประเทศ
2. ขาดบุคลลากรที่มีความรู้ในด้านการบำรุงรักษาซ่อมแซมเครื่องจักรที่ใช้ เช่น เครื่องสาวไหม เครื่องทอผ้าไฟฟ้า ทำให้อายุการใช้งานเครื่องจักรสั้นกว่าที่ควรจะเป็น และเมื่อเครื่องจักรชำรุดเสียหายก็ทำให้การทำงานหยุดชะงัก เนื่องจากต้องรอผู้มีความรู้ด้านเครื่องจักรมาซ่อมแซมซึ่งมักใช้เวลานาน
3. ผู้ประกอบการจำนวนมากยังขาดความรู้ความสามารถในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมเพื่อการเพิ่มมูลค่าให้กับสินค้า มักจะผลิตสินค้าตามความนึกคิดของตัวเองโดยไม่ได้ศึกษาความต้องการของผู้บริโภค ทำให้มีสินค้าค้างสต๊อกจำนวนมากบ่อยๆส่งผลกระทบต่อสภาพคล่องทางการเงิน
 โอกาส (Opportunity)
1. ผ้าไหมไทยมีเอกลักษณ์และเป็นที่ชื่นชมในระดับนานาชาติ ทำให้ผลผลิตจากอุตสาหกรรมไหมยังมีโอกาสอีกมากในตลาดทั้งภายในและภายนอกประเทศ
อุปสรรค (Threat)
1. ปริมาณเส้นไหมที่มีอยู่ในประเทศไม่เพียงพอกับความต้องการ ต้องมีการนำเข้าทำให้มีต้นทุนในส่วนวัตถุดิบสูงขึ้น
2. เส้นไหมของประเทศเพื่อนบ้านมีราคาถูกกว่า ทำให้มีการลักลอบนำเข้าเส้นไหมอย่างผิดกฎหมาย มีผลกระทบต่อราคาไหมที่ผลิตได้ในประเทศ
3. มีการแข่งขันจากผ้าทอพื้นเมืองที่ทำจากวัสดุอื่นที่มีราคาถูกกว่า และดูแลรักษาง่ายกว่า เช่น ผ้าฝ้ายทอพื้นเมือง เป็นต้น
4. ผู้บริโภคทั้งชาวไทย และต่างประเภทส่วนใหญ่พบปัญหาการดูแลรักษาผ้าไหม

วันศุกร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ลักษณะภูมิประเทศของประเทศมาเลเซีย

         
         ตั้งอยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร มีอากาศร้อนชื้นแถบศูนย์สูตร อยู่ในอิทธิพลของลมมรสุมมีอากาศร้อนชื้นตลอดทั้งปีช่วงเวลากลางคืน อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ประมาณ 20องศาเซลเซียส ขณะที่ช่วงอุณหภูมิที่สูงสุดอยู่ที่ 30 องศาเซลเซียส ช่วงที่มีความแห้งแล้งที่สุด อยู่ในช่วงเดือนมิถุนายน เมื่องหลวงชื่อ กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมืองศูนย์กลางธุรกิจ อิโปห์ มาลักกา บูหารู คลาง ปีนัง กัวลาลัมเปอร์ เมืองท่า Port Klang และปีนัง ลักษณะการปกครอง ประชาธิปไตย มีกษัตริย์เป็นประมุข จำนวนประชากร ประมาณ 23.8 ล้านคน พื้นที่ 330,434 ตารางกิโลเมตร เชื้อชาติ  พลเมืองส่วนใหญ่มีเชื้อชาติมลายู  (58%) นอกนั้นเป็นชาวจีน (26%) ชาวอินเดีย(7%) ชาวเขาเผ่าต่างๆ (9%) เลือดผสมมลายูกับโปรตุเกส มลายูกับฮอลันดา มลายูกับอังกฤษ
http://www.choktaweetour.com/index_info.php?ID=19

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

กลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด

สิ่งที่จะสนองความต้องการของลูกค้าได้ มีอยู่ 4 ประการ คือ ผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด ทั้ง 4 ประการจะต้องสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อให้สนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างกลมกลืน
1. ผลิตภัณฑ์
          ผลิตภัณฑ์ หมายถึง สิ่งที่จะสนองความต้องการของลูกค้า อาจมีตัวตนหรือไม่มีตัว ตนก็ได้ จะต้องพิจารณาสิ่งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
                 - แนวความคิดด้านผลติภัณฑ์ ต้องรู้ว่าสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคคืออะไร
                 - คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ หมายถึง ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางชีวะ ความงาม ความทนทาน รูปร่างรูปแบบของผลิตภัณฑ์
                 - จุดเด่นของผลิตภัณฑ์ เป็นลักษณะเด่นเป็นพิเศษ กว่าสินค้าอื่น
                 - ผลประโยชน์ที่ได้รับจากผลิตภัณฑ์ เป็นผลประโยชน์ที่ผลิตภัณฑ์มีต่อลูกค้า มี 2 ด้านคือ ผลประโยชน์โดยหน้าที่ของผลิตภัณฑ์ และผลประโยชน์ทางด้านอารมณ์
                 - ส่วนประสมผลิตภัณฑ์ คือความหลากหลายของผลิตภัณฑ์ โดยทั่วไปเรามักจะมีผลิตภัณฑ์มากกว่า 1 ชนิด ส่วนประสมทางผลิตภัณฑ์อาจแบ่งออกตามชนิด ตามรุ่น ตามขนาด ตามลักษณะจัดจำหน่ายหรือตามความเกี่ยวข้องกันของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด
                 - ตราสินค้า เป็นการบรรยายถึงลักษณะของผลิภัณฑ์ซึ่งอาจเป็นคำพูด สัญลักษณ์ หรือรวมกัน โดยทั่วไป เจ้าของผลิตภัณฑ์มักใช้ตราสินค้า มาจำแนกสินค้าให้เห็นว่าแตกต่างจากสินค้าของคนอื่นและทำให้ผู้บริโภคจดจำสินค้าได้ง่าย ตราสินค้ามีส่วนสำคัญมากที่ทำให้ผู้บริโภคหันกลับมาซื้อสินค้าของเราในโอกาสหน้าอีก
                 - บรรจุภัณฑ์ เป็นสิ่งที่หุ้มห่อสินค้า อาจทำหน้าที่ในการบรรจุ หุ้มห่อ รวมทั้งสื่อสารทางการตลาด โดยบรรจุภัณฑ์จะเป็นตัวที่ช่วยสนองความต้องการของลูกค้า ในบางกรณีบรรจุภัณฑ์จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับลูกค้า เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ซึ่งอาจทำให้ลูกค้ายินดีที่จะจ่ายในราคาที่สูงขึ้นได้
2. ราคา
                 - ราคาเป็นส่วนประสมทางการตลาดเพียงอย่างเดียวที่ ทำให้เกิดรายได้
                 - องค์ประกอบหลักในการกำหนดราคาต่ำสุดคือ ต้นทุนการผลิต และองค์ประกอบในการกำหนดราคาสูงสุดคือ คุณค่าในสายตาของผู้บริโภค
- วิธีการกำหนดราคา มี 3 ประเภท คือ
                    1) พิจารณาจากต้นทุน
                    2) พิจารณาจากลูกค้า
                    3) พิจารณาจากคู่แข่งขัน
                 - การกำหนดราคาเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญมาก ในการบริหารธุรกิจ ในการกำหนดราคาจะต้องมีความชัดเจนในเรื่อง วัตถุประสงค์ของการกำหนดราคา เช่น ลดราคาเพื่อสกัดคู่แข่ง ตั้งราคาต่ำเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการได้ลูกค้าใหม่ ลดราคาเพื่อไล่ตามคู่แข่ง สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ การทำให้ลูกค้ายอมรับในการเปลี่ยนแปลงราคา
                 - ประเด็นสำคัญของราคาไม่ได้อยู่ที่ตั้ง ไว้ที่ราคาเท่าไหร่ หากแต่ขึ้นกับการเปรียบเทียบระหว่าง ราคาของสินค้า กับคุณค่าของสินค้าที่มีต่อผู้บริโภค หากลูกค้ารู้สึกว่าสินค้ามีคุณค่ามากกว่าราคา เขาก็จะยินดีซื้อสินค้าในราคาที่กำหนด
3. ช่องทางการจัดจำหน่าย
          ช่องทางการจัดจำหน่าย มีความหมายครอบคลุมในเรื่อง การนำสินค้าจากผู้ผลิตไปถึงมือผู้บริโภค การควบคุมปริมาณสินค้า การขนส่ง การติดต่อสื่อสาร จนกระทั่งเรื่องประเภทของร้านจำนวนของร้าน โกดัง การกระจายทางกายภาพ วิธีการกระจายสินค้า ช่องทางการจัดจำหน่ายต้องคำนึงถึง
                    1) การเข้าถึง เช่น การใช้สื่อ การกระจายสินค้าไปหาลูกค้าให้ตรงตามพฤติกรรม ลักษณะนิสัยความต้องการ ฯลฯ
                    2) ขายสินค้าได้ จะเกิดหลังจากที่เราสามารถเข้าถึงลูกค้าได้แล้ว
                    3) รักษาไว้ คือ สร้างความสัมพันธ์ให้เกิดการซื้อขายต่อเนื่อง เพื่อ ให้ลูกค้าอยู่กับเราตลอดไป
ข้อพิจารณาในการเลือกช่องทางการจัดจำหน่าย ได้แก่
                    1) พื้นที่ครอบคลุม ซึ่งอาจ ครอบคลุมทุกพื้นที่ที่เป็นไปได้ ครอบคลุมเฉพาะพื้นที่ที่เลือกสรร หรือครอบคลุมพื้นที่เพียงจุดเดียว
                    2) ประเภทของร้านค้าปลีก
                    3) ผลประโยชน์ที่ต้องให้กับร้านค้า

4. การส่งเสริมการตลาด
          หมายถึง ความพยายามทั้งสิ้นที่จะส่งเสริมให้การตลาดบรรลุเป้าหมายได้ ทำให้ลูกค้ามาซื้อสินค้า สนใจสินค้าของเรา ลูกค้าเปลี่ยนพฤติกรรมให้สอดคล้องกับสินค้าและรักษาไว้ไม่ให้เปลี่ยนแปลง
การส่งเสริมการตลาดประกอบไปด้วย
                    1) การแจ้งข่าวสารข้อมูล
                    2) การโน้มน้าวชักจูงใจ
                    3) การเตือนความจำ  ประกอบไปด้วย
                         - การโฆษณา
                         - การส่งเสริมการขาย
                         - การขายโดยใช้พนักงาน
                         - การประชาสัมพันธ์
                         - การพูดแบบปากต่อปาก
          1. การโฆษณา เป็นการสื่อสารแบบทางเดียว ที่มีประสิทธิภาพสำหรับตลาดแบบมวลชน มีลักษณะเป็นการเสนอข่าวสาร ทำให้เกิดการรับรู้ สร้างสรรค์วามรู้สึกที่ดีต่อสินค้า และทำสร้างการเรียนรู้เร่งเร้าให้เกิดการซื้อ
          2. การส่งเสริมการขาย เป็นการสื่อสารทางเดียวเกี่ยวกับเนื้อหาที่น่าสนใจเฉพาะอย่าง ทำให้เกิดแรงจูงใจระยะสั้น ๆ มีวัตถุประสงค์ทำให้เกิดการรับรู้ การเรียนรู้และแนะวิธีการใช้สินค้า
          3. การขายด้วยพนักงานขาย เป็นการสื่อสารสองทางที่มีคุณภาพสูงโดยผ่านการพูดคุยหรือชี้แนะการใช้สินค้าต่อผู้บริโภคแต่ละคนโดยตรง มีลักษณะเป็นการเสนอข่าวสารข้อมูลพิเศษให้กับผู้ที่จะเป็นลูกค้า
          4. การประชาสัมพันธ์ เป็นการสื่อสารทางเดียวเกี่ยวกับข่าวสารในเชิงพานิชของสินค้าผ่านสื่อสาธารณะมีลักษณะเป็น การเสนอข่าวผลิตภัณฑ์ใหม่ การประเมินผลิตภัณฑ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการรับรู้ การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและ สนับสนุนการตัดสินใจ
          5. การพูดปากต่อปาก เป็นการสื่อสารสองทาง มีลักษณะเป็นการสนับสนุนซึ่งกันและกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดการรับรู้ การเรียนรู้ การเปลี่ยนแปลงทัศนคติและ สนับสนุนการตัดสินใจ การพูดแบบปากต่อปากมีอิทธิพลต่อผู้บริโภคมาก โดยเฉพาะสินค้าที่มีราคาสูง และสินค้าที่ไม่มีรูปร่าง

ตัวอย่างกลยุทธ์ส่วนผสมทางการตลาด  



7 - eleven



product  7 - eleven 




place  7 - eleven 



 
promotion 7 - eleven